top of page
ค้นหา

10 Ways to Push Yourself to Think Outside the Box (10 วิธีผลักดันตัวเองให้คิดนอกกรอบ)

  • รูปภาพนักเขียน: Admin
    Admin
  • 12 ก.พ. 2564
  • ยาว 4 นาที

(10 Ways to Push Yourself to Think Outside the Box – English version is below ^ ^)

ถึงเวลาคิดนอกกรอบแล้ว – และก็ถึงเวลาพัฒนาตัวเองและอาชีพให้ก้าวหน้ากันแล้วจ้า


แม้คำว่า “คิดนอกกรอบ” เป็นศัพท์แสงที่อาจจะใช้กันกลาดเกลื่อนมากเกินไป แต่คนที่คิดนอกกรอบก็มักจะถูกยกให้เป็นผู้ริเริ่มของทั้งคุณภาพชีวิตและธุรกิจที่ผู้คนล้วนปรารถนา การที่ใครๆจะไหลไปตามกระแสนั้นถือเป็นเรื่องง่ายและมีความปลอดภัยมากกว่า แต่คนที่เป็นผู้นำนั้นมักจะทวนกระแสมากกว่าที่จะตามมัน


ทำไมการคิดนอกกรอบจึงเป็นเรื่องยาก?

เราทุกคนคงเคยอยู่ในที่ประชุมที่ทีมงานได้รับการกระตุ้นให้ “คิดนอกกรอบ” แต่ปัญหาก็คือเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำอะไรจนติดนิสัย และพวกเราส่วนใหญ่ก็ชอบความสะดวกสบายจากกิจวัตรประจำวันที่เราคุ้นเคย ดังนั้นการคิดนอกกรอบอาจหมายถึงการท้าทายความเชื่อที่เรายึดถือกันมาอย่างยาวนานนั่นเอง


บริษัทต่างๆ มักหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อผลกำไร แม้ว่าจะมีเรื่องราวความสำเร็จมากมายที่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงบางอย่างไม่เพียงแต่จะคุ้มค่าเท่านั้น แต่ยังให้ผลตอบแทนมหาศาลอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Apple เป็นต้น


แม้ว่าความเสี่ยงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวและถูกปฏิเสธ แต่ความเสี่ยงก็มีความสำคัญต่อการเติบโตในระดับบุคคลและระดับธุรกิจ และแม้ว่าเรามักจะถูกบอกว่าเราควรคิดนอกกรอบ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครมาบอกว่าในการคิดนอกกรอบนั้นเราต้องทำยังไงบ้าง


แล้วการคิดนอกกรอบต้องทำยังไงเหรอ?

เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องดิ้นรนเพื่อหาไอเดียหรือแนวคิดใหม่ๆ มันมีเคล็ดลับง่ายๆที่จะช่วยให้คุณก้าวออกจาก “พื้นที่ปลอดภัย (comfort zone)” ของคุณ แล้วคิดในรูปแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นได้


1. ถามเด็กๆว่าถ้าเป็นพวกเค้า พวกเค้าจะทำอย่างไร:

ด้วยจินตนาการอันสดใสของเด็ก ๆ จึงทำให้พวกเค้าเป็นผู้ริเริ่ม และมีความคิดสร้างสรรค์โดยธรรมชาติอยู่แล้ว


2. ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น:

หากคุณคิดว่าปัญหาของคุณซับซ้อนเกินกว่าที่เด็กๆจะเข้าใจได้ ให้ใช้เวลาหาวิธีอธิบายให้พวกเค้าเข้าใจได้ง่ายๆ Richard Feynman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ผู้ล่วงลับเคยกล่าวไว้ว่า “ ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายให้เด็กอายุ 6 ขวบฟังได้ แสดงว่าคุณก็ไม่ได้เข้าใจมันจริงๆ” ในบางครั้งการหาวิธีอธิบายปัญหาที่ซับซ้อนในรูปแบบที่ง่ายขึ้นก็ทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาได้เช่นกัน


3. ลองถามตัวเองว่า “ถ้าฉันเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ต้น ฉันจะทำอะไรที่แตกต่างออกไปบ้าง?”

การทำอะไรๆเป็นกิจวัตรเป็นศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ แต่มันก็เป็นแบบอย่างด้วยเช่นกัน ในบางครั้งเราพยายามดิ้นรนเพื่อหลีกเลี่ยงจากวิธีการที่เราเคยทำมาตลอด ดังนั้นการจินตนาการถึงกระดาน(กระดาษ)ที่ยังสะอาดอยู่อาจสามารถช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมองและคิดนอกกรอบได้


4. ตั้งคำถามว่าทำไม/ เพราะอะไร:

การต้องกลับไปทำแบบเดิมๆส่วนใหญ่มาพร้อมกับวลีง่ายๆที่ว่า: “ก็เราทำแบบนั้น/ แบบนี้มาตลอดนี่” ต้องยอมรับว่าเราพยายามอย่างเต็มที่ที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งที่เราทำอยู่ยังได้ผลดีแม้จะไม่ได้วิเศษมากนักก็ตาม ในเมื่อการทำเป็นกิจวัตรคือตัวขัดขวางและสิ่งกีดขวาง คำถามว่า “ทำไม/ เพราะอะไร” จึงเป็นตัวทำลายสิ่งกีดขวางนั้นๆนั่นเอง การตั้งคำถามว่า "แล้วทำไมเราจึงทำแบบนั้นแบบนี้มาตลอดหล่ะ?" สามารถเผยข้อบกพร่องและทำให้หาวิธีคิดอย่างสร้างสรรค์ได้


5. ออกกำลังกล้ามเนื้อสมองของคุณ:

เว็ปไซต์ Psychology Today แนะนำให้ลองทำแบบฝึกหัดสองสามข้อต่อไปนี้ ซึ่งจะทำให้สมองของคุณไม่ติดขัดเมื่อคุณพยายามคิดนอกกรอบได้อย่างน่าประหลาดใจเลยทีเดียว


นำคำต่างๆมาเรียงลำดับตามตัวอักษรใหม่ ใช้คำใดก็ได้ (คำที่คุณกำลังอ่านเจอ หรือ คิดขึ้นได้) แล้วจัดเรียงตัวอักษรใหม่ตามลำดับตัวอักษร อย่างเช่นคำว่า B-R-A-I-N เมื่อนำมาเรียงตัวอักษรใหม่ตามลำดับตัวอักษร จะกลายเป็น A-B-I-N-R เป็นต้น


สิ่งที่ทำให้ “การยิมนาสติกทางจิต” นี้กระตุ้นสมองของคุณได้อย่างยอดเยี่ยมก็คือว่าคุณถูกบังคับให้ใช้ข้อมูลทั้งหมด - ตัวอักษรทั้งหมด - และจัดเรียงข้อมูลใหม่ทั้งหมดในใจ ลองฝึกทำแบบนี้ซักวันละ 5 นาที ซัก 3วันต่อสัปดาห์ แล้วลองเพิ่มจำนวนตัวอักษรในคำที่คุณใช้เมื่อคุณมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น” - Mike Byster, Psychology Today


ละตัว E ในคำ ลองท้าให้เพื่อนของคุณพูดคุยภาษาอังกฤษกับคุณโดยห้ามใช้คำที่มีตัว E ดูสิ (E คือสระที่ใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ) มันเป็นการฝึกที่จะทำให้คุณคิดไปในทิศทางใหม่ ๆ ที่ยอดเยี่ยมมาก


ลองบวกตัวเลขหนึ่งหลักในใจทีละชุดสิ . . เร็วๆ! 8 + 6 + 9 + 3 + 2 + 4 + 7 คือเท่าไร… ให้ไว!!


6. ลงเรียนทักษะใหม่ๆ:

การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถช่วยให้คุณมองสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไรจากมุมที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง


7. ฟรีไรท์ หรือ การเขียนแบบอิสระ (Free Writings):

ฟรีไรท์ หรือ การเขียนแบบอิสระ (Free Writings) คือการเลือกหัวข้อมาซักข้อหนึ่ง ตั้งเวลาสั้น ๆ แล้วเขียนให้เร็วที่สุดโดยไม่หยุดเพื่อแก้ไข ถ้าคุณใช้ปากกาและกระดาษจะดีกว่าใช้คอมพิวเตอร์ ตัวจับเวลาจะเพิ่มแรงกดดันในการเขียนไปเรื่อยๆ โดยบังคับให้สมองของคุณคิดอย่างสร้างสรรค์แทนที่จะคิดตามแบบแผนที่เคยทำมา


8. วาดภาพ:

คุณไม่จำเป็นต้องรู้วิธีวาดภาพ เพียงแค่หยิบเครื่องมืออะไรก็ได้ที่มีอยู่ในมือ (แม้แต่สีเทียนก็ยังได้!) การวาดภาพสามารถปลดปล่อยความคิดของคุณได้


9. แผนที่ทางความคิด (Mindmap):

เขียนคำหรือวลี จากนั้นวาดวงกลมรอบ ๆ คำหรือวลีนั้นๆ ต่อจากนั้นวาดแขนงและคำหรือวลีที่เกี่ยวข้อง แล้ววงกลมคำนั้นๆ ทำซ้ำๆกับคำอื่นๆ การฝึกนี้จะช่วยปลดล็อกความคิดของคุณ


10. ออกไปเดินเล่น:

จากการศึกษาของสแตนฟอร์ดเปิดเผยว่าการเดินเล่นช่วยปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของคุณทั้งในระหว่างการเดินเล่นและในช่วงสั้น ๆ หลังจากการเดินเล่นจบแล้ว ลองดูนะ!


สุดท้ายนี้ ลองแบ่งปันประสบการณ์กับเราสิคะว่าโดยปกติแล้วคุณมีทางออกอย่างไรบ้าง เมือคุณคิดไอเดียใหม่ ๆไม่ออก หรือ เกิดอาการติดขัดเมื่อพูดถึงเรื่องของความคิดสร้างสรรค์


โดย ทีมงาน ESL Training @ Work

หมายเหตุ: บทความนี้มาจากบทความของ Karen Hertzberg จาก Grammarly

Cr. ภาพ: Andrea Piacquadio / Pexels


****************************

10 Ways to Push Yourself to Think Outside the Box

It's time to think outside the box — and progress yourself and your career.


Although the jargon may be a bit overused, people who think outside the box are often labeled as innovators, a desirable quality in life and business. It's easy and safe to go with the flow, but leaders buck trends rather than follow them.


Why is it hard to think outside the box?

We've all been in that meeting where the team was encouraged to “think outside the box.” The problem is that we're creatures of habit and most of us prefer the comfort of familiar routines. Thinking outside the box can mean challenging long-held beliefs.


Companies often avoid risks that could have a negative effect on their profits, even when there are plenty of success stories to illustrate that some risks not only pay off, they pay off big. See Apple as a good example.


Despite the chance for failure and rejection, risks are essential for growth on a personal and business level. And yet, although we're often told we should think outside the box, we're rarely told how.


So, How to think outside the box?

When you're struggling to come up with fresh ideas, there are some simple tricks to help you step out of your comfort zone and think in an innovative way.


1. Ask a child what they would do:

With their vivid imaginations, kids are natural innovators.


2. Simplify it:

If you think your problem is too complex for a child to understand, take some time to figure out how to explain it simply. Richard Feynman, the late Nobel Laureate in physics, is attributed with saying, “If you can't explain it to a six-year-old, you don't really understand it.” Sometimes the very act of figuring out how to explain a complex problem in simple terms results in an innovative solution.


3. Ask “What would I do differently if I were starting from scratch?”

Routine is the enemy of innovative thinking, but so is precedent. Sometimes, we struggle to shift away from the way we've always done things. Imagining a clean slate can help you change perspective and think outside the box.


4. Ask why:

Most of the pushback we get comes with a simple phrase: “That's how we've always done it.” We're hardwired to resist change, especially when what we've been doing has been working okay, if not spectacularly. When the routine is the roadblock, “why” is the battering ram. Asking “But why have we always done it that way?” can reveal flaws and make way for creative thinking.


5. Flex your brain muscles:

Psychology Today suggests a few surprising exercises that can get your brain unstuck when you're trying to think outside the box.


· Alphabetize letters in words. Take any word (the one you're reading, or just thinking) and alphabetize the letters. So, the word B-R-A-I-N would become A-B-I-N-R.


“What makes this mental gymnastics so terrifically boosting to your brain is that you're forced to use all the information — all the letters — and totally rearrange it in your mind. Try this for five minutes a day, three days a week. Increase the number of letters in the words you are alphabetizing as you get more proficient.” — Mike Byster, Psychology Today


· Lose the letter E. Challenge your friends to use words in conversation that don't have the letter E (the most oft-used vowel in the English language) in them. It's great work that will get you thinking in new directions.


· Add a series of one-digit numbers in your head . . . fast. Quick! What's 8+6+9+3+2+4+7?


6. Take a class:

Learning something new can help you look at the things you already know how to do from a completely different angle.


7. Freewrite:

Freewriting is the act of picking a topic, setting a timer for a short amount of time, and writing as fast as you can without stopping to edit. It flows best if you do it with a pen and paper rather than on a computer. The timer adds some pressure to keep writing, forcing your brain to think creatively instead of conventionally.


8. Draw a picture:

You don't have to know how to draw, just pick up whatever tools you have on hand (even crayons!) and tap into a completely different part of your brain. It can free your thoughts.


9. Mindmap:

Write a word or phrase. Draw a circle around it. Draw a branch and a related word or phrase. Circle that. Repeat. The practice unlocks ideas.


10. Take a walk:

A Stanford study revealed that walking frees your creativity both during the walk and for a short time after. Give it a try!


So, please share with us what do you normally do when you are stuck for a new idea or when it comes to the mater of creativity.


By ESL Training @ Work Team

Note: The source of this article is from Karen Hertzberg on Grammarly

Cr. Photo: Andrea Piacquadio/ Pexels



 
 
 

留言


  • Facebook App Icon

© 2016 by ESL Training @ Work. Proudly created with Wix.com

bottom of page