top of page
ค้นหา

7 Tips You Need To Expand Your English Vocabulary(7 เคล็ดลับแนะนำถ้าอยากเพิ่มคำศัพท์ภาษาอังกฤษ)

  • รูปภาพนักเขียน: Admin
    Admin
  • 2 ก.พ. 2564
  • ยาว 4 นาที

(มีบทความนี้เป็นฉบับภาษาไทยต่อท้ายด้วยนะคะ ^ ^)

Have you ever asked yourself these questions? (#)

# Where do I start learning new English vocabulary?

When learning a language, we assume that you want to sound natural. Then why not look at how babies learn a language naturally in the first place? Babies start learning some nouns (mom, dad, milk, dog, etc.), then they add some verbs (want, like, eat, etc.), and from there they start adding pronouns, adverbs, adjectives, etc. A 5-year-old can, in most cases, communicate fluently without knowing correct prepositions or the difference between “much” and “many”, etc., etc. What they do is using songs to remember or repeat after adults.

So the point is? Go back to that learning process.

· First, start with nouns and verbs and then fill the gaps.

· Then, repeat after native speakers.


# Where can I find new vocabulary to learn?

Living in the country is the fastest and probably most effective way to learn a language. But these are not for everyone, and some learners don’t have that choice. If that’s your case, try using these:

· Articles: If you’re interested in current affairs, read the BBC, The Guardian, CNN or any other newspapers that you like. Find a blog about your passion, be it cooking, IT, traveling or DIY, and read it regularly.


· Books: Try to find books that you like but also according to your level of English.


· Life: If you can’t move to a different country, then surround yourself with as much English as possible - texting with a native-speaker, going to international events, having all your apps in English and watching movies and series in English are just some examples that will help you achieve your goals.


· An English Course: A professional teacher will guide you based on your needs and interests and will help you learn all the vocabulary and skills that you need.


Regardless of what materials you use, write down the words you’re not familiar with, and memorize them with the techniques below:


# How can I remember new vocabulary?

Follow the following techniques to get those new words to stick forever. You can also apply these techniques to any other language you want to learn.


1. Choose what you need to learn, forget the rest:

To learn a language, you have to make it relevant to your life. Select the words and examples that you will actually use in your life. Pick practical vocabulary and discard words that you know you will never use.

Did you know? If you learn the most frequently used 3,000 words in English, you’ll be able to speak and understand 90% of what a native speaker says on any given day.

So be efficient, identify the most common words that you will keep saying all the time and you’re more than halfway there!


2. Use what you already know:

Relate new terms with what you already know. This will help you remember faster and for much longer.

Regardless of how new a word sounds, you can always embed it in a known and familiar situation. For example, if you want to remember 4 new words, put them all together in a sentence and make the situation familiar to you.

Example : ‘children, pupils, primary school, students

Their children are pupils at a local primary school with other students from all over the world.


3. Learn in blocks:

Memorizing words in isolation is very difficult. Instead, learn them in a block or a sentence. Similarly to technique 2, this technique will help you remember things by association. This is particularly useful for prepositions and collocations in general.

Example : 'responsible'

Is it responsible of? Responsible for? or With? Learn it in a sentence that is also relevant to you. > I am responsible for the flower arrangements.


4. Repeat until it’s stuck forever:

The goal is to repeat the terms and review them until they’ve reached your long-term memory.

For maximum effectiveness, repeat the word within the first 24 hours, on day 3, day 6, day 10, and, then every 2 weeks until you feel it is part of your vocabulary. Set up alarms and add it to your calendar if necessary.


5. Record your new words:

Make a journal and add new words as you come up with them.


6. Visualize your new words:

This is what we naturally do when we read a book - even though we only see words, your mind creates an imaginary world and we see pictures, scenes, and entire stories in your mind.

Do the same when learning a language! Put those words into a story and visualize it. You can also use pictures in your journal or flashcards.


7. Use. The. Words.

Use your new words in the actual conversation and communication. Any time you get the chance, use your new words in conversation, texting friends, with your speaking teacher, with colleagues, on a status update on Facebook… Just find a reason to do so!


Conclusion:

Become obsessed with the language, make it your own, visualize, and repeat! These are only some techniques, but there are many others - like using music and lyrics to remember better!


By ESL Training @ Work Team

Note: The source of this article is from an article by Paola Pascual at talaera.com

Cr. Photo: Sincerely Media/ Unsplash


*****************************

7 เคล็ดลับแนะนำถ้าคุณอยากเพิ่มความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ


บทความนี้ แอดฯได้นำมาจากบทความที่น่าสนใจของ Paola Pascual จาก talaera.com ซึ่งกล่าวถึงเคล็ดลับในการเพิ่มเติมความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มาดูว่ามีเค้ามีเคล็ดลับอะไรมาแนะนำกันบ้างนะคะ


คุณเคยถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้หรือไม่? (#)


# ฉันจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ๆได้ที่ไหน?

ในการเรียนภาษาเราคิดว่าถ้าผู้เรียนจะต้องนำไปใช้จริงๆแล้วมันควรจะต้องฟังดูเป็นธรรมชาติ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วทำไมเราจึงไม่ลองให้ผู้เรียนนึกถึง หรือ ลองสังเกตเด็กเล็กๆดูล่ะว่าพวกเค้าเรียนรู้ภาษาตั้งแต่แรกอย่างเป็นธรรมชาติได้อย่างไร? เด็กเล็กๆเริ่มเรียนรู้คำนาม (แม่ พ่อ นม สุนัข ฯลฯ ) จากนั้นค่อยเพิ่มคำกริยา (ต้องการ ชอบ กิน ฯลฯ ) จากนั้นพวกเขาก็เริ่มเพิ่มคำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำคุณศัพท์ ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเด็ก 5 ขวบสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่รู้เลยว่าคำไหนคือคำบุพบทที่ถูกต้อง หรืออะไรคือความแตกต่างระหว่างการใช้คำว่า“ much/ many (มาก)” กับคำนามเอกพจน์ และ พหูพจน์ เป็นต้น แต่สิ่งที่พวกเขาทำคือใช้เพลงเพื่อจดจำ หรือพูดซ้ำๆตามผู้ใหญ่


ประเด็นตรงนี้ก็คือ? ทำไมเราจึงไม่ย้อนกลับไปใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบนั้นอีกครั้งหนึ่งล่ะ

•ขั้นแรก เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้คำนามและคำกริยา แล้วเติมช่องว่างที่เหลือในประโยคด้วยคำประเภทอื่นๆ

•จากนั้นก็ให้ทำ (ฝึกฟัง พูด อ่าน เขียน) ซ้ำๆตามเจ้าของภาษา


# ฉันจะหาคำศัพท์ใหม่ ๆ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ไหน?

การใช้ชีวิตในประเทศเจ้าของภาษาเป็นวิธีที่เร็วและเป็นวิธีที่น่าจะได้ผลที่สุดในการเรียนรู้ภาษาแต่ละภาษา แต่นี่ไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกคนเพราะนักเรียนบางคนไม่มีโอกาสเลือกหนทางเลือกนี้ หากเป็นเช่นนั้นให้คุณลองใช้ทางเลือกอื่นๆดังต่อไปนี้:

อ่าน หรือ ฟังบทความต่างๆ: ถ้าคุณสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆทั่วโลกในปัจจุบัน ก็ลองอ่าน BBC, The Guardian, CNN หรือหนังสือพิมพ์อื่น ๆ ที่คุณชอบ หรือค้นหาบล็อกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณชื่นชอบไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร ไอที การเดินทาง หรือ DIY และอ่าน หรือ ฟังบทความเหล่านั้นให้เป็นกิจวัตรประจำวัน


อ่านหนังสือ: ลองพยายามหาหนังสือที่คุณชอบมาอ่าน แต่ก็ควรจะเหมาะกับระดับภาษาอังกฤษของคุณด้วย


การใช้ชีวิตประจำวัน: ถ้าคุณไม่สามารถย้ายไปอยู่ต่างประเทศได้ก็ให้ใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ – เช่น ส่งข้อความคุยกับเจ้าของภาษา ไปงานพบปะสังสรรค์ต่างๆที่มีชาวต่างชาติไป ใช้แอปพลิเคชั่นทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ หรือดูภาพยนตร์และซีรีส์เป็นภาษาอังกฤษ นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้


ลงเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ: ครู อาจารย์ ที่เป็นมืออาชีพจะสามารถให้คำแนะนำตามความต้องการและความสนใจของคุณได้ และจะช่วยให้คุณได้เรียนรู้คำศัพท์และทักษะทั้งหมดที่คุณต้องการอีกด้วย


และไม่ว่าคุณจะใช้สื่อไหนก็ตาม ให้คุณจดบันทึกคำศัพท์ที่คุณไม่คุ้นเคยไว้ และ ให้จดจำคำศัพท์เหล่านั้นด้วยเคล็ดลับด้านล่างนี้:


# ฉันจะจดจำคำศัพท์ใหม่ๆได้อย่างไร?

ลองทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อให้สามารถจดจำคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้ตลอดไป และไม่แต่เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น คุณยังสามารถใช้เคล็ดลับเหล่านี้กับภาษาอื่น ๆ ที่คุณต้องการเรียนรู้ได้อีกด้วย


1. เลือกเฉพาะคำที่คุณต้องการเรียนรู้ และจงลืมคำอื่นๆให้หมด:

ในการเรียนรู้ภาษาต่างๆนั้นคุณต้องทำให้การเรียนนั้นๆมีความเกี่ยวข้องและควบคู่ไปกับชีวิตของคุณ จงเลือกคำและตัวอย่างที่คุณจะใช้ในชีวิตประจำวันของคุณ ให้เลือกคำศัพท์ที่คุณจะใช้ได้จริงเท่านั้นและให้ลืมคำศัพท์ที่คุณรู้ว่าจะไม่มีวันใช้ไปก่อน

คุณรู้หรือไม่ว่า? ถ้าคุณเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยที่สุดได้ 3,000 คำ คุณจะสามารถพูดและเข้าใจสิ่งที่เจ้าของภาษาพูดในแต่ละวันได้ถึง 90%

ดังนั้นจงเลือกคำศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกคำที่ใช้กันบ่อยๆที่สุด และเป็นคำที่คุณจะใช้พูดได้ตลอดเวลา ถ้าทำได้ก็แสดงว่าคุณมีชัยไปกว่าครึ่งแล้วล่ะ!


2. ใช้สิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว:

ให้เชื่อมคำศัพท์ใหม่ๆกับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว วิธีนี้จะช่วยให้คุณจำได้เร็วขึ้นและนานขึ้นด้วย

ไม่ว่าคำศัพท์ใหม่ๆเหล่านั้นจะฟังดูอย่างไรก็ตาม คุณสามารถปลูกฝังคำเหล่านั้นไว้ในสถานการณ์ที่คุณรู้จักและคุ้นเคยได้ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการจำคำศัพท์ใหม่ 4 คำก็ให้รวมคำทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นประโยค และทำให้สถานการณ์ในประโยคนั้นเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคย


ตัวอย่างเช่น: คำว่า‘children, pupils, primary school, students (เด็กๆ/ลูกๆ นักเรียน โรงเรียนประถมศึกษา นักเรียน)


Their children are pupils at a local primary school with other students from all over the world.

(ลูก ๆ ของพวกเขาเป็นนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาท้องถิ่นแห่งหนึ่งซึ่งมีนักเรียนคนอื่น ๆ มาจากทั่วทุกมุมโลก)


3. เรียนรู้คำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่:

การจดจำคำศัพท์แยกกันเป็นคำๆเป็นเรื่องยากมากกกกก… ดังนั้นเราจึงแนะนำให้คุณเรียนรู้คำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นประโยคแทน คล้ายๆกับข้อที่ 2 เคล็ดลับนี้จะช่วยให้คุณจดจำสิ่งต่างๆได้ด้วยการเชื่อมโยง และเป็นวิธีที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนรู้คำบุพบท และ กลุ่มคำโดยทั่วไป


ตัวอย่างเช่น: คำว่า 'responsible' (รับผิดชอบ)


เราจะใช้เป็น responsible of? responsible for? หรือ responsible with? ให้เรียนรู้คำคู่นี้ในประโยคที่เป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณ > I am responsible for the flower arrangements. (ฉันรับผิดชอบในการจัดดอกไม้)


4. ใช้คำซ้ำๆจนกว่าคำๆนั้นจะติดอยู่กับคุณตลอดไป:

วิธีนี้มีเป้าหมายในการใช้คำศัพท์นั้นๆและทบทวนซ้ำๆจนกว่าคุณจะจำได้ในระยะยาว

เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ให้ใช้คำศัพท์นั้นๆซ้ำๆภายใน 24 ชั่วโมงของการเรียนครั้งแรก ในวันที่ 3 วันที่ 6 วันที่ 10 และจากนั้นให้ลองใช้คำศัพท์นั้นๆซ้ำๆกันในทุกๆ 2 สัปดาห์จนกว่าคุณจะรู้สึกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์ประจำของคุณไปแล้ว คุณจะตั้งเวลาเตือนและเพิ่มลงในปฏิทินด้วยก็ได้หากจำเป็นต้องทำ


5. จดบันทึกคำศัพท์ใหม่ๆ:

ทำบันทึกประจำวันและเพิ่มคำศัพท์ใหม่ๆเมื่อคุณได้เห็น หรือ นึกออก


6. จำคำศัพท์ใหม่ๆให้เป็นภาพจำ:

โดยธรรมชาติแล้วเมื่อเราอ่านหนังสือใจเราจะจินตนาการภาพตามไปด้วยเป็นฉากๆ ได้หมดทั้งเรื่อง ทั้งๆที่จริงๆแล้วเราได้เห็นเพียงคำและตัวหนังสือ

คุณสามารถทำเช่นเดียวกันนี้ได้กับการเรียนภาษา! ให้ใส่คำเหล่านั้นให้เป็นเรื่องราวและจินตนาการให้เห็นภาพ นอกจากนั้นคุณยังสามารถเพิ่มรูปภาพเข้าไปในสมุดบันทึก หรือ ทำบัตรคำศัพท์ได้ด้วย


7. จงนำ คำศัพท์นั้นๆ ไปใช้:

จงใช้คำศัพท์ใหม่ๆเหล่านั้นในการสนทนาและการสื่อสารจริงๆ เมื่อใดก็ตามที่คุณมีโอกาสจงใช้คำศัพท์ใหม่ๆที่ได้เรียนรู้มาในการสนทนา ส่งข้อความหาเพื่อน พูดกับครูที่สอนทักษะการพูดของคุณ พูดกับเพื่อนร่วมงาน ใช้ในการอัปเดตสถานะบน Facebook ฯลฯ ... ให้หาเหตุเพื่อที่จะได้ใช้จริง!


บทสรุป:

จงใส่ใจกับการเรียนและการใช้ภาษา จงทำให้คำเหล่านั้นเป็นคำของคุณเอง ให้จินตนาการภาพและใช้ซ้ำๆ! เคล็ดลับทั้ง 7 ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่าง อย่างไรก็ตามยังมีเทคนิคอื่น ๆ อีกมากมายเช่นการใช้เพลงและเนื้อเพลง ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนจำได้ดีขึ้น!

 
 
 

Comments


  • Facebook App Icon

© 2016 by ESL Training @ Work. Proudly created with Wix.com

bottom of page